วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การตั้งชื่อพายุรุ่นใหม่

ตั้งแต่ปี 2543 ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศ โดยเรียงไว้ตามลำดับอักษรตั้งแต่ A-Z และเรียงชื่อของพายุตามลำดับก่อน หลังตามวันและเวลาที่เกิด เพื่อความสะดวกในการแจ้งข่าว รวมทั้งทำให้เรียงและจดเป็นสถิติได้ง่าย ซึ่งประเทศสมาชิกในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบน และแถบทะเลจีนใต้รวม 14 ประเทศ ทำความตกลงกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ตั้งชื่อพายุเองโดยแต่ละประเทศ ตั้งชื่อพายุ10ชื่อ รวม 140 ชื่อ จากนั้นนำมาเรียงสลับชื่อกันเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 28 เมื่อเกิดพายุก็จะนำชื่อในกลุ่มที่ 1 มาตั้งชื่อจนหมด จึงนำชื่อในกลุ่มที่ 2 มาใช้ต่อ ซึ่งชื่อเหล่านี้น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะดูมีนัยยะแฝงอยู่...น่าศึกษาทีเดียว
-ไทย-ชื่อพายุ พระพิรุณ ทุเรียน วิชา รามสูร เมขลา หนุมาน นิดา ชบา กุหลาบ ขนุน
-ลาว-ชื่อพายุ โบลาเวน ปลาบึก พันฝน เกศนา นกเต้น ช้างสาร ฟ้าใส จันทร์หอม น้ำต้น มัทสา
-กัมพูชา-ชื่อพายุ ดอมเรย์ กองเรย์ นากรี กรอวาญ สาริกา โบพา กรอซา ไมสัก จันทู เนสาด
-จีน-ชื่อพายุ หลงหว่าง ยูทู ฟงเฉิน ตู้เจี้ยน ไหหม่า หวู่คง ไห่เยี่ยน ไห่เฉิน เตี้ยมู่ ไห่ถัง
-เกาหลีเหนือ-ชื่อพายุ ไคโรจิ โทราจิ เคาเมจิ เมมิ มิอะริ โซนามุ โพดอล พงโซนา มิดอนเล นอเก
-ฮ่องกง-ชื่อพายุ ไคตั๊ก มานยี่ ฟองวอง ฉอยหวั่น มาง่อน ซานซาน แหล่งแหลง ยันยัน เทงเท๋ง บันหยัน
-ญี่ปุ่น-ชื่อพายุ เทมบิน อุซางิ คุมมุริ ขอบปุ โทะคาเงะ ยางิ คะจิคิ คุจิระ คอมปาซึ วาชิ
-มาเก๊า-ชื่อพายุ จันจู วิทิบ หวังฟง พาร์มา มุ้ยฝ่า เบบินก้า ฮัวเหม่ย คลินฝ่า หม่าเหลา ซันหวู่
-มาเลเซีย-ชื่อพายุ เจอลาวัต เซอพัต รูซา มีเลอ เมอร์บุค รัมเบีย ทาปา นังก้า เมอรันติ มาวา
-ไมโครนีเซีย-ชื่อพายุ เอวินตา ฟิโท ซินลากู เนพาทัค นันมาดอล ซูลิค มิแทค ซูเดโล รานานิม

ไม่มีความคิดเห็น: